ระบบกันซึมกับการซ่อมแซมผิวคอนกรีตที่แตกร้าว

1495 จำนวนผู้เข้าชม  | 

     คอนกรีตเป็นวัสดุผสมที่ใช้ในงานก่อสร้างมากที่สุด คอนกรีตนั้นเกิดจากส่วนประกอบ 3 หลักได้แก่ ปูนซีเมนต์, วัสดุผสมทางธรรมชาติ (หิน, ดิน, ทราย, กรวด) และน้ำ รวมถึงสารเคมีบางประเภทเพื่อทำปฏิกิริยาเคมีให้มีคุณสมบัติเหมาะแก่การก่อสร้าง ระหว่างผสมวัสดุและสารเคมีนั้นจะทำปฏิกิริยาร่วมกันเรียกกระบวนการนี้ว่า การไฮเดรชัน จนทำให้สสารนั้นแข็งตัว จึงเรียกว่า “คอนกรีต” ความแข็งแรงของคอนกรีตนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากผสมเสร็จ คอนกรีตที่มีความแข็งแรงและคงที่นั้นจะใช้ระยะเวลาประมาณ 28 วันถึงจะมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานมากที่สุด

     คอนกรีต เป็นวัสดุหลักที่ถูกนำมาใช้งานมากที่สุด ตั้งแต่ถนน, สะพาน, บ้าน, ตึก, อาคาร เพราะมีความแข็งแรงมากที่สุด รองรับน้ำหนักได้อย่างมหาศาล ทนต่อทุกสภาพอากาศได้นานเป็นเวลานานถึงร้อยปี แต่ทว่ากฎแห่งธรรมชาติคือการเสื่อมสลาย ไม่มีสิ่งใดคงทนและถาวร แม้จะผสมสารเคมีเสริมความแกร่ง ป้องกันรอยแตกผุกร่อน แต่คงไม่ได้รักษาได้ดั้งเดิมตลอดไป

     การดูแลรักษาคอนกรีตจึงเป็นหนึ่งวิธีการถนอมคอนกรีตให้ใช้งานได้เป็นระยะเวลานานขึ้น หากเสื่อมโทรมไปบ้างเล็กน้อย จำเป็นต้องเวลาสำหรับ งานซ่อมผิวคอนกรีต มาดูว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพลงไป แล้วจะมีวิธีดูแลรักษาอย่างไรบ้าง

- สาเหตุการเสื่อมสภาพของคอนกรีต

แม้ว่าเนื้อคอนกรีตจะเป็นวัตถุที่แข็งแต่ถ้าหากมีปัจจัยจากสภาวะรอบข้าง สามารถกระตุ้นให้คอนกรีตค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงได้ หรือแม้แต่คุณภาพของเนื้อคอนกรีตเองยังมีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้างแล้วก็เป็นได้

1.         คุณภาพเนื้อคอนกรีตตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้าง

o  คอนกรีตมีรูโพรงมากเกินไป เพราะเกิดจากการผสมสารเคมีไม่เป็นไปตามสัดส่วน หรือสารประกอบนั้นไม่มีคุณภาพ

o  ขนาดของฟองอากาศในเนื้อคอนกรีตกระจายตัวไม่สม่ำเสมอหรือจับตัวเป็นกลุ่ม หากปล่อยไว้นาน ๆ เสี่ยงทำให้โครงสร้างตึกยุบตัวพังลงมาได้

2.         สารกันซึมไม่มีประสิทธิภาพ หรือวิธีผสม/ทา/ปูสารกันซึมไม่เป็นไปตามเกณฑ์

o  สารกันซึมที่ผสม / ทา / ฉาบไว้ตั้งแต่แรกเริ่มไม่มีความหนาเพียงพอ ทำให้เนื้อคอนกรีตค่อย ๆ กร่อนลงไป

3.         ปัจจัยภายนอกมีผลต่อวัสดุก่อสร้างโดยตรง

o  ฝนตกทำให้น้ำรั่วซึมลงมาจากหลังคาหรือดาดฟ้า ทำให้ซึมลงในเนื้อคอนกรีต เสี่ยงคอนกรีตเปื่อย หากปล่อยไว้จะส่งผลต่อโครงสร้างเหล็กภายใน ยิ่งคอนกรีตแตกร้าวจะทำให้ซึมลงสู่ชั้นเหล็กได้ เมื่อน้ำเจอกับออกซิเจนจะเป็นตัวการทำให้เกิดสนิมในเหล็ก เมื่อปล่อยไว้ระยะยาวทำให้โครงสร้างตึกไม่แข็งแรงเสี่ยงถล่มลงมา

o  น้ำที่ผิวหน้าคอนกรีตเกิดการระเหย จะเกิดช่องว่างเมื่อเกิดแรงดึงของคอนกรีตหรือสารกันซึมจะทำให้คอนกรีตหดตัวเกิดการแตกร้าว

o  แสงยูวีจากแสงแดดเป็นตัวการทำให้คอนกรีตค่อย ๆ แห้ง แตกร้าวได้

o  ความร้อนหรือไฟทำให้น้ำในคอนกรีตระเหยออกมา แต่ดินและทรายในคอนกรีตขยายตัว ทำให้เนื้อคอนกรีตแตกร้าวได้

o  ฝนตกหนักสลับกับแสงแดดร้อนๆสลับกันทำให้ผิวเนื้อคอนกรีตเสียหาย

o   เสาบ้านที่วางในน้ำทะเล เมื่อเจอสภาวะเปียกและแห้งสลับกันทำให้เนื้อคอนกรีตกัดกร่อนได้ อีกทั้งยังมาจากสาเหตุหลักคืออิออนและคลอไรด์ในน้ำทำปฏิกิริยากับคอนกรีตด้วย

o  ความเสื่อมสภาพของคอนกรีตเนื่องมาจากกรด ด่าง ไอน้ำหรือสารเคมีที่ถูกขับออกมาจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

- ปกป้องเนื้อคอนกรีตด้วยกันซึมทาเคลือบชนิด Solvent base

     กันซึมประเภท Solvent base เป็นน้ำยากันซึมที่ต่างจากกันซึมประเภททั่วไป เพราะมีส่วนประกอบจากน้ำมัน มีโมเลกุลขนาดเล็กกว่าอะคริลิกจึงซึมลงในผิวคอนกรีตได้ เหมาะกับ งานซ่อมผิวคอนกรีต  หรือชิ้นงานที่มีรูพรุนเล็ก ๆ เมื่อทาแล้วสีผิววัสดุจะเข้มขึ้นมาบ้างเล็กน้อย เมื่อน้ำกระเด็นใส่จะทำให้มีลักษณะคล้ายน้ำกลิ้งบนใบบอน แต่ข้อควรระวังคือเป็นกันซึมที่มีกลิ่นฉุนมาก มีสารเคมีมาก จึงต้องระมัดระวังในการทาฉาบไม่ควรทาเกิน 2 ชั้น มีอายุการใช้งาน 3-5 ปี ราคาสูงมาก แต่ถ้าหากผิวคอนกรีตหรืองานฉาบทั่วไปที่มีรูพรุนใหญ่ สามารถใช้ Water base ก็ได้ เป็นสูตรน้ำไม่มีกลิ่นแต่มีโมเลกุลใหญ่กว่าแค่นั้น ข้อดีคือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติของ Solvent base

o  กันซึมได้ดีเยี่ยม

o  ยืดหยุ่นสูง

o  ใช้งานได้กับพื้นผิวหลายประเภท

o  ปกป้องผิวคอนกรีตจากการทำลายของน้ำ

o  ใช้งานได้ทั้งกันซึมและงานพื้น

o  ใช้ได้ทั้งภายในภายนอก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้