ทำความรู้จักกับบานประตูประเภทต่างๆ

57876 จำนวนผู้เข้าชม  | 

     วัสดุที่เลือกใช้ทำประตูและหน้าต่างเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งมีผลต่อภาพลักษณ์ของบ้าน การเลือกวัสดุประตูหน้าต่างนอกจากความสวยงามแล้ว ยังจำเป็นต้องเน้นความแข็งแรง ทนทาน โดยเฉพาะประตูหน้าบ้านซึ่งเป็นประตูหลักของบ้าน และหากเป็นห้องที่ต้องสัมผัสกับน้ำหรือมีความเปียกชื้น ก็ต้องเลือกวัสดุประตูที่ทนน้ำได้ วัสดุประตูแต่ละชนิดมีคุณสมบัติ ข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน วันนี้ wongguru.com จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับวัสดุประตูประเภทต่างๆ เพื่อให้ท่านสามารถเลือกใช้วัสดุประตูได้เหมาะสมกับงานและความต้องการได้

1. ประตูไม้จริง

     ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติที่คนไทยคุ้นเคยและนิยมใช้กันมานาน เพราะหาซื้อง่าย ประตูไม้จริงเข้ากับบ้านได้ทุกสไตล์ ให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นธรรมชาติ สามารถทำลวดลายและสีสันได้ตามต้องการ ไม้ที่นิยมทำประตูเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้โอ๊ค ไม้สัก ซึ่งไม้แต่ละชนิดให้ความสวยงาม ความทนทานและราคาที่แตกต่างกัน ข้อจำกัดของการใช้ประตูไม้จริงคือ ปัจจุบันมีราคาสูงเนื่องจากไม้คุณภาพดีมีน้อย ต้องอาศัยช่างไม้มีฝีมือในการทำและประกอบชิ้นงาน และปัญหาสำคัญของไม้จริงเวลาโดนน้ำหรือได้รับความชื้นบ่อย ๆ ไม้จะบวม เกิดเชื้อรา เมื่ออากาศแห้งลงไม้จะโก่ง บิดตัว การเลือกใช้ประตูไม้จริงจึงควรเลือกเฉพาะส่วนที่ไม่เสี่ยงต่อการโดนน้ำ เช่น ประตูห้องนอน และหากต้องการนำมาใช้กับประตูหน้าบ้าน ควรเลือกไม้เนื้อแข็งเท่านั้น และควรบำรุงรักษาเป็นประจำอยู่เสมอ

2. ประตู WPC (Wood-Plastic Composite)

     บานประตู WPC หรือที่นิยมเรียกกันว่าไม้สังเคราะห์ เป็นนวัตกรรมที่มาทดแทนไม้ธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะทำจากไม้บดผสมพลาสติก นำมารีดเป็นแผ่น ทำให้ได้บานประตูที่แข็งแรงทนทาน (แต่น้อยกว่าไฟเบอร์กลาส)  กันปลวก ไม่ลามไฟ กันแรงกระแทกได้ดี สามารถแช่น้ำได้ 100 % ในระยะเวลานานกว่า 30 วัน  สามารถใช้งานได้ดีทุกส่วนของบ้านทั้งภายในและภายนอก

3. ประตู HDF (High Density Fiber) 

     ประตู  HDF หรือประตูแผ่นใยไม้ ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติผสมกับกาวสังเคราะห์ อัดด้วยความดันและความร้อนสูง เพื่อให้เส้นใยประสานเป็นเนื้อเดียวกัน โครงสร้างบานประตูจึงแข็งแรงเหมือนไม้จริง เหมาะสำหรับใช้เป็นประตูภายใน ซึ่งบานประตูชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมมากสำหรับบ้านยุคใหม่ เพราะคุณภาพดีกว่าประตูไม้อัด MDF ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก มอด แมลง ทนความชื้นได้ดี ใช้ร่วมกับห้องน้ำได้ แต่ต้องเป็นห้องน้ำที่มีการแยกส่วนเปียกส่วนแห้งชัดเจน และระบายอากาศได้ดี บานประตูชนิดนี้ไม่เหมาะกับการใช้ภายนอก ควรหลีกเลี่ยงการโดนแดดและฝนโดยตรง

4. ประตูลามิเนต (Laminate Door)

     ประตูลามิเนต คือประตูที่มีการใช้วัสดุสำหรับปิดผิวเพื่อตกแต่งให้ประตูเกิดความสวยงาม วัสดุปิดผิวประตูโดยส่วนมากใช้แผ่นลามิเนตอัดแรงดันสูง(HPL) โดยเฉพาะแผ่นลามิเนตอัดแรงดันสูงของ AICA เพราะมีคุณสมบัติที่ทนต่อรอยขีดขวด ทนความชื้น มีความสวยงามเหมือนไม้จริง และปราศจากสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับงานใช้ภายใน ซึ่งปัจจุบันประตูลามิเนตแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามโครงสร้างภายในหรือแกนของบานประตู ได้แก่ แกนไม้ตัน (Solid core) แกนโครงไม้หรือบานกล่อง (Hollow core) แกนกระดาษรังผึ้ง(Honeycomb core) และแกนพียูโฟม (Polyurethane core)

ประตูปิดผิวลามิเนต (Laminate Door)

5. ประตูไม้เอ็นจิเนียร์

     ประตูไม้เอ็นจิเนียร์ เป็นการผสมกันระหว่างไม้จริงกับไม้สำเร็จ โดยไม้จริงนำมาทำโครงสร้างของประตูในส่วนของผิวหน้าก็จะเป็นผิวไม้วีเนียมาทับด้านหน้าอีกครั้งหนึ่ง ความคงทนจะดีกว่า ประตู HDF และแข็งแรงเทียบเท่าประตูไม้จริง

6. ประตู PVC

     ประตู  PVC เป็นประตูที่นิยมนำมาทดแทนวัสดุไม้หรือกึ่งไม้ เนื้อผิวเนียนเรียบเป็นแผ่นเดียวกันตลอดบาน เนื่องจากเป็นวัสดุสังเคราะห์จึงไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นและปลวก ไม่ผุ ไม่หด หรือบิดงอ น้ำหนักเบาติดตั้งง่าย ราคาถูก แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกและบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง เพราะความร้อนจากแสงแดดจะทำให้บานประตูกรอบเสียหายได้ และด้วยเนื้อวัสดุที่ค่อนข้างบางทำให้ง่ายต่อการงัดแงะ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการใช้ติดตั้งภายในอย่าง ประตูห้องน้ำ, ประตูห้องครัวที่อยู่ภายในบ้านเท่านั้น

ประตูpvc-สีครีมเทา บานเรียบ เจาะเกล็ดข้าง เต็มบาน

7. ประตู uPVC

     ประตู uPVC หรือ ไวนิล (Vinyl) อัพเกรดจากประตูพีวีซี (PVC) ผลิตจากโพลีเมอร์ ผ่านกระบวนการอัดรีดด้วยความร้อนสูงเป็นแผ่นเรียบอัดฟิล์มแล้วปั้มขึ้นรูปตามแบบ คุณสมบัติของ uPVC เป็นวัสดุที่ไม่ลามไฟ เป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้ดี ทนทานต่อสภาพอากาศทั้งร้อน หนาว ฝน หรือไอเค็มจากทะเล ตัววัสดุไม่หดหรือขยาย ทนต่อแรงกระแทก สามารถกันน้ำได้ 100 % กันปลวกและแมลง กันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี ติดตั้งมุ้งลวดได้  จึงเหมาะกับการใช้งานภายใน และประตูภายนอกที่มีร่มบัง เช่น ประตูห้องน้ำ, ห้องครัว ประตูที่เปิดเชื่อมไปโรงรถ หรือประตูออกนอกระเบียง ไม่แนะนำให้ใช้งานภายนอกเต็มที่แบบไม่มีหลังคาบัง

ประตู upvc สี yellow ash บานเรียบ เซาะร่อง 1 เส้นตรง 4 เส้นนอน

8. ประตูไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)

     ประตูชนิดนี้ผลิตจากโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเสริมใยแก้วมาหล่อขึ้นรูป ทำให้มีความแข็งแรงของวัสดุมากขึ้น ป้องกันการกระแทกได้ดี เป็นฉนวนป้องกันความร้อนได้ สามารถปรับไสและย้อมสีได้เสมือนไม้จริง โครงสร้างภายในตัวบานมักจะมีส่วนประกอบของ PS Foam และ PU injection foam ป้องกันเสียงและอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี บานไม่ยืดขยายตัว ไม่หด ไม่บิดงอตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รูปแบบมีให้เลือกทั้งบานทึบ บานช่องเกล็ด บานลูกฟัก ใส่คู่กับกระจกได้ กันปลวก ทนแดด กันน้ำได้ 100 % ไม่เปื่อยยุ่ยแม้แช่น้ำเป็นเวลานาน จึงใช้กับห้องน้ำได้  เหมาะสำหรับใช้ภายนอกมากที่สุด

9. ประตูกระจก

     ประตูกระจกนิยมใช้ในจุดที่ต้องการให้บ้านมีความโปร่งตาน่ามอง ไม่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นประตูติดกระจกเทมเปอร์ และกระจกลามิเนตที่มีความแข็งแรง ทนทาน แตกหักยาก มีหลากหลายรูปแบบให้เลือก อาทิ ประตู Fiberglass ประตูกระจกนิรภัย ประตูบานกระจกมีลวดลายแบบซีลค์สกรีน บานกระจกสแตนกลาส กระจกใสบานเปลือย และประตูกระจกบานเลื่อน ซึ่งมักใช้ในงานภายในสำหรับกั้นแบ่งระหว่างห้อง  ตู้ ห้องน้ำ หรือบ้านที่มีพื้นที่น้อย ๆ ต้องการพรางตาให้ดูกว้างขึ้น ใช้ได้ทั้งงานภายนอกและภายใน ส่วนประตูนอกบ้าน นิยมใช้กระจกบานเลื่อนเชื่อมต่อกับโซนสวน ไม่นิยมใช้ร่วมกับประตูหลัก

10. ประตูเหล็ก

     ประตูเหล็กเหมาะกับการใช้งานภายนอก บริเวณประตูหน้าบ้าน หลังบ้าน ระเบียง ดาดฟ้าที่ต้องการความแข็งแรงและปกป้องบ้านเพื่อปลอดภัยเป็นหลัก การเลือกใช้ประตูเหล็กก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะเหล็กเป็นวัสดุที่สามารถกันไฟได้ดี เหล็กกล้ามีความแข็งแรงทนทานยากต่อการงัดแงะ แต่ก็ต้องมีการเคลือบป้องกันสนิมมาเป็นอย่างดี เพราะหากอยู่ในจุดที่ต้องพบความชื้นสูงอาจจะเกิดสนิมได้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายแบรนด์ ผลิตประตูเหล็กสำหรับประตูหน้าบ้าน ให้ความสวยงาม หรูหราทันสมัยและปลอดภัยกว่าประตูชนิดอื่นๆ ด้วย

11. ประตูอะลูมิเนียม

     อะลูมิเนียมที่ใช้ทำประตูหน้าต่างมี 2 ประเภทคือ อะลูมิเนียมชุบสีด้วยไฟฟ้า (Anodizing) ซึ่งมี 3 สีหลักๆ ได้แก่ สีชาอ่อน สีชาเข้ม และสีดำ อีกประเภทคือ อะลูมิเนียมพ่นอบสี (Powder Coating) เป็นการพ่นและอบผงสีเคลือบบนพื้นผิว จึงทำสีได้หลายเฉด สามารถป้องกันรอยขีดข่วนได้ดีกว่าและราคาสูงกว่า อะลูมิเนียมที่ชุบสีด้วยไฟฟ้า ประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เนื่องจากแข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิม ดูแลรักษาง่าย ราคาปานกลาง มีให้เลือกหลายแบบ ผลิตและติดตั้งใช้เวลาไม่นาน ช่างรายย่อยสามารถตัดประกอบเองได้ แต่มักมีปัญหาการรั่วซึมตามรอยต่อ บุบจากการกระแทกและมีรอยขูดขีดได้ มีการส่งผ่านความร้อนเข้าตัวบ้าน การเปิดปิดมักมีเสียงดังจากโลหะกระทบกัน จึงควรเลือกใช้กับอุปกรณ์คุณภาพดีและมีการติดตั้งอุปกรณ์กันกระแทก

------------------------------------------------------------ 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 090-9864354, Line: @Wongguru
>> กลับสู่หน้าหลัก <<

 

อ่านบทความเกี่ยวกับการติดตั้งประตูและวงกบเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับบานประตูประเภทต่าง ๆ

ประตูม้วนประเภทต่างๆ

กลอนประตูดิติทัลทางเลือกใหม่ของงานติดตั้งประตูและวงกบ

ประตูไม้จริง ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูไม้จริง

ประตูไม้เอ็นจิเนียร์ ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูไม้เอ็นจิเนียร์

ประตูไม้อัด ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูไม้อัด

ประตู PVC ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตู PVC

ประตู UPVC ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตู UPVC

ประตู UPVC ภายนอกแตกต่างกับประตู UPVC ภายในอย่างไร

ประตู WPC ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตู WPC

ประตู HDF ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตู HDF

ประตูลามิเนต ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูลามิเนต

ประตูไฟเบอร์กลาส ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูไฟเบอร์กลาส

ประตูกระจก ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูกระจก

ประตูเหล็ก ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูเหล็ก

ประตูอลูมิเนียม ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูอลูมิเนียม

ประตูห้องนอน ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อประตูห้องนอน

ประตูห้องน้ำ ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อประตูห้องน้ำ

ประตูห้องครัว ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อประตูห้องครัว

ประตูหน้าบ้าน ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อประตูหน้าบ้าน

ประตูหนีไฟ ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูหนีไฟ

ประตูเหล็กทนไฟ ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อประตูเหล็กทนไฟ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้