ประเภทของระบบกันซึม

17562 จำนวนผู้เข้าชม  | 

     ระบบกันซึมเป็นหนึ่งในงานก่อสร้างที่จะขาดไปไม่ได้ เพราะมีความสำคัญต่ออาคารที่อยู่ภายใน โดยเฉพาะกันซึมดาดฟ้าที่ช่วยปกป้องความร้อนและน้ำจากภายนอก หรือแม้แต่กันซึมผนัง กันซึมพื้นผิว ล้วนมีความสำคัญต่อโครงสร้างอาคาร มาดูกันว่าระบบกันซึมในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

1. กันซึมประเภทสารผสมเพิ่ม (Admixture) สารผสมเพิ่ม หมายถึง สารเคมีอื่นๆที่ใช้ผสมลงไประหว่างผสมคอนกรีต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการในคอนกรีต เช่น สารลดน้ำ สารเร่งการก่อตัว สารกักกระจายฟองอากาศ สารกันชื้น เป็นต้น เป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้คอนกรีตตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มก่อสร้าง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก แต่ทว่าสารผสมเพิ่มนี้ต้องใช้ในอัตราส่วนที่แม่นยำที่สุด เช่น ใช้ในร้อยละ 0.2 หากใช้มากเกินไปจะมีผลต่อคอนกรีต และวัสดุอื่นระหว่างการก่อสร้าง กันซึมประเภทสารผสมเพิ่มนี้มักขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความสามารถผกผันตามระยะเวลา

2. กันซึมประเภททาเคลือบหรือฉาบบนพื้นผิว

2.1 ชนิด CEMENT base เป็นผงหรือทั้งแบบผงพร้อมน้ำยาสำหรับผสม เพื่อใช้ในการทาหรือฉาบบนผิวคอนกรีต ป้องกันการรั่วซึมและปกป้องความร้อน

- กันซึมเซรามิค (Ceramic Heat Proof) มีความโดดเด่นในด้านใช้งานสำหรับกันซึมดาดฟ้า เพราะสามารถต้านทานความร้อนสูง สะท้อนความร้อนได้มากกว่า 95% ต้านทานรังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ช่วยรักษาหลังคาและผนังอาคารให้ใช้งานได้ยาวนาน ใช้งานได้กับทุกพื้นผิวตั้งแต่กระเบื้อง คอนกรีต ไม้ กระจก อิฐ โลหะ หรือโฟม ก็ยึดเกาะได้ดีโดยไม่มีการรั่วซึมจากน้ำฝน ราคาไม่แพง ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในรูปแบบของเหลวหรือของแข็งก็ตาม จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก นิยมใช้กับหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม บ้าน โรงแรม โรงเรียน ฯลฯ

2.2 ชนิด WATER base เป็นน้ำยากันซึม ทนต่อการแช่ขังน้ำได้ดี ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก จุดเด่นของน้ำยากันซึม WATER base เหมาะกับผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร เพราะสามารถสัมผัสกับอาหารได้โดยตรง แต่คุณสมบัติกันซึมน้ำยังด้อยกว่ากันซึมพียู เพราะไม่ทนต่อการแช่ขังน้ำได้เป็นเวลานาน
 
2.3 ชนิด SOVENT BASE เป็นน้ำยาเคลือบใส ไม่มีสี ไม่มีสารพิษ ใช้เคลือบพื้นผิวปกป้องตะไคร่ เชื้อรา ให้ความเงางาม ทาบนกระเบื้องและคอนกรีตทุกชนิด มักใช้งานบนพื้นอีพ็อกซี่ พื้นพียู เพื่อความมันวาว ส่วนมากใช้กับพื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นห้องโรงพยาบาล พื้นโรงแรม โรงเรียน แต่ป้องกันรังสี UV ไม่มากนัก จึงไม่นิยมทำงานกันซึมดาดฟ้า
 
2.4 ชนิดมีความยืดหยุ่นสูง
 
- โพลียูรีเทนกันซึม (Polyurethane Waterproof) หรือเรียกว่ากันซึมพียู (PU) เป็นกันซึม ที่นิยมใช้อย่างมาก เพราะเหมาะกับใช้เป็นกันซึมดาดฟ้า คอนกรีตที่มีความยืด หด ขยายตัวอยู่เสมอ หรือแม้แต่ดาดฟ้าที่เสี่ยงเกิดรอยร้าว เพราะมีความยืดหยุ่น 300 – 500% ช่วยในการรองรับแรงดึงยืดตัวเองได้และปกปิดรอยร้าวคอนกรีตนาน น้ำจึงไม่ไหลผ่านซึมลงไปตรงรอยร้าว แม้ว่าฝนตก 10 วัน ก็รองรับน้ำฝนได้อย่างดีโดยไม่รั่วซึม

- อะคริลิคกันซึม (Acrylic Waterproof) แม้มีความยืดหยุ่นน้อยกว่ากันซึมพียู แต่มีคุณสมบัติโดดเด่นด้านเสริมความแข็งแรงและป้องกันการแตกร้าว เพราะมีส่วนผสมของ Fiberglass กับ Polyester Mat จึงเหมาะกับการทา ฉาบผนังอาคาร หรือทาบนดาดฟ้าได้ มีความยืดหยุ่น 200 – 300% ป้องกันการแตกร้าวและเสริมความแข็งแรง

- กันซึมเพียวโพลียูเรีย (Pure Polyurea Waterproof) เป็นวัสดุกันซึม 100% ยืดหยุ่นได้ถึง 1,000% ทนในอุณหภูมิ -45 ถึง 200 องศา แช่ในน้ำทะเลได้นาน 75 ปี แต่มีอายุการใช้งานยามเจอแสงแดด 20-50 ปี จึงนำไปใช้เป็นวัสดุเคลือบภายในแท้งค์น้ำดี แท้งค์น้ำเสีย แท้งค์น้ำดื่ม ทนต่อแรงดึงของคอนกรีตที่แตกได้ดีเยี่ยม ทนต่อแรงเสียดสีและแรงกระแทก ถูกยกว่าดีที่สุดในตระกูล Waterproof แต่มีราคาแพงมาก
 
3. กันซึมประเภทสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต (Crystallization) เป็นประเภทกันซึมที่ใช้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง มีแบบผงและน้ำยา วิธีใช้จะผสมร่วมกับคอนกรีตเพื่อสร้างห้องชั้นใต้ดิน ผนังกั้นดิน ให้สารเคมีเข้าถึงเนื้อคอนกรีต ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีค่อย ๆ สร้างผลึกภายในเพื่ออุดช่องว่างรูพรุน กันความชื้นรั่วซึมออกมา สร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อคอนกรีต อาคารมีความแข็งแรง
 
4. กันซึมประเภทเมมเบรน (Membrane) หรือเมมเบรนกันซึม เป็นแผ่นพลาสติกสำเร็จรูปใช้ปกปิดกันซึม กันรอยแตกบนพื้น ผนัง ดาดฟ้า วิธีติดตั้งเพียงใช้ความร้อนเชื่อมต่อแผ่นก็ใช้งานได้เลย 
 
- พีวีซีเมมเบรน (PVC Membrane) เป็นแผ่นเมมเบรนที่ดีที่สุด ทนทานต่อทุกสภาพอากาศถึง 10 ปี มีคุณสมบัติเด่นคือป้องกันน้ำไม่ให้รั่วซึมออกมาจากรอยแตกร้าวบนพื้น ใช้ปูพื้นทั้งในอาคาร นอกอาคาร นิยมปูรองงานส่วนหย่อมขนาดเล็กบนดาดฟ้า ชั้นใต้ดิน บ่อน้ำ ฯลฯ
 
- บิทูเทนเมมเบรน (Bitumen Membrane) ถูกออกแบบมาเพื่อปกปิดซ่อมแซมรอยแตก เช่น รอยแตกปล่องไฟ รอยหน้าต่าง รอยหลังคาบ้าน รอยหลังคาโรงจอดรถ ยึดเกาะได้กับทุกพื้นผิว ติดตั้งง่าย และยืดหยุ่นสูง
 
- โพลีเทนเมมเบรน (Polythene Waterproof Membrane) เป็นแผ่นพลาสติก 4 ชั้น เหมาะกับปูรองพื้นกันซึมก่อนปูกระเบื้อง มีความแข็งแรง กันน้ำได้ดี ยืดหยุ่นสูง น้ำหนักเบา
 
     แต่กันซึมประเภทเมมเบรนนั้น มีข้อเสียคือต้องปูแผ่นให้ชิดสนิทกันโดยห้ามเว้นว่างรอยต่อเด็ดขาด มิเช่นนั้นจะรั่วซึมได้ง่าย เมมเบรนกันซึม มักไม่ทนต่อความร้อน ถ้าคอนกรีตได้รับความร้อนจากแสงแดดจะทำให้แผ่นเมมเบรนโป่งพองและหลุดลอกได้ แถมติดไฟง่ายด้วยจึงเสี่ยงต่อไฟไหม้ เมมเบรนกันซึมมักเหมาะกับการปูรองพื้นชั่วคราว ซ่อมแซม หรือต้องมีวัสดุปูทับหน้า เช่น กระเบื้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้