เสาเข็มไมโครไพล์ (MICROPILE)

168 จำนวนผู้เข้าชม  | 


วงศ์กูรู เป็นโรงงานผู้ผลิตเสาเข็มไมโครไพล์ (Microplie) เสาเข็มชนิดนี้ออกแบบขึ้นมาให้เหมาะกับงานประเภทต่อเติมบ้าน อาคาร หรอโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการฐานรากที่มั่นคงแข็งแรงป้องกันการทรุดตัวภายหลัง

ผลิตและจำหน่ายเสาเข็มไมโครไพล์ พร้อมบริการตอกด้วยปั้นจั่นที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้สามารถเข้าทำงานในที่แคบได้ เช่น ภายในอาคาร พื้นที่ด้านข้างหรือด้านหลังของบ้าน เพราะเสาเข็มไมโครไพล์จะมีแรงสั่นสะเทือนขณะตอกต่ำกว่าเสาเข็มใหญ่ จึงสามารรถตอกเสาเข็มบริเวณหน้างานที่อยู่ติดกับกำแพงหรือโครงสร้างอาคารเดิมโดยที่ไม่ให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

 

เสาเข็มไมโครไพล์

 

เสาเข็มไมโครไพล์ คือ เสาเข็มสำหรับติดตั้ง ต่อเติมอาคาร บ้านเรือน โรงงาน เพราะสามารถตอกในที่จำกัด เช่น พื้นที่แคบ พื้นเพดานต่ำ ตอกใกล้กระจก ลักษณะเสาเข็มมีความยาว 1.5 เมตร สามารถเชื่อมต่อกันและตอกจนถึงชั้นดินดานได้ 

มีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบจึงมีความหนาแน่น และแข็งแกร่งมีความยาวต่อท่อน 1.5 เมตร ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยดารนำเสามาเชื่อมต่อกัน โดยใช้วิธีการตอกเสาเข็มชนิดนี้ด้วยปั้นจั่นแบบพิเศษ (Drop Hammer System) เนื่องจากเสาเข็มมีลักษณะกลมกลวงตรงกลางจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมาากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอก โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคาร ที่พักอาศัย โรงงาน และงานปรับปรุงโครงสร้าง ที่ต้องการความมั่นคง แข็งแรงสูง

 

คุณสมบัติเด่นของเสาเข็มไมโครไพล์

          1. สามารถทำงานในพื้นที่แคบได้ เพราะเราใช้ปั้นจั่นที่มีการออกแบบมาเป็นพิเศษโดยความสูงของปั้นจั่นมีลักษณะสูงไม่เกิน 3 เมตร เหมาะกับการปรับปรุงต่อเติมบ้าน สำนักงาน โรงงาน แก้ไขอาคารทรุด สามารถตอกชิดกระจก กำแพง ผนังบ้านได้โดยไม่ทำให้โครงสร้างเดิมแตกร้าว

          2. เนื่องจากเสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลางจึงไม่สั่นสะเทือนขณะติดตั้งน้อยมาก อาคารส่วนใหญ่ที่ต้องเสริมเสาเข็มนั้นมักจะมีปัญหาความบกพร่องของฐานรากอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่ควรให้มีแรงสั่นสะเทือนอันจะเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อฐานรากหรือโครงสร้างอาคารมากขึ้น

          3. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง และสิ่งแวดล้อม เสียงรบกวนน้อย สะดวก สะอาด ไม่มีดินโคลน ไม่ต้องขนดินทิ้ง

          4. รับน้ำหนักได้ทันที เป็นเสาเข็มชนิดที่เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ สามารถรับน้ำหนักได้ทันที เหมาะกับอาคารที่มีการทรุดตัวค่อนข้างมาก หรืออาคารที่ต้องชดเชยความแข็งแรงอย่างรวดเร็ว

          5. มั่นใจคุณภาพการรับน้ำหนัก สามารถรับน้ำหนักตามที่วิศวกรออกแบบไว้ ผ่านการทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัย (Safe Load) โดยวิธีการ Dynamic Load Test สามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 15-50 ตัน/ต้น (ขึ้นอยู่กับสภาพดิน)

          6. สามารถรองรับการก่อสร้างอาคารได้ตั้งแต่ 1-5 ชั้น หรือมากกว่าตามที่วิศวกรออกแบบ

          สามารถรับน้ำหนักได้ทันที่ เหมาะกับอาคารที่มีการทรุดตัวทุกรูปแบบ หรืออาคารที่ต้องชดเชยความแข็งแรงอย่างรีบเร่งและรวดเร็ว

 

ขนาดเสาเข็มกลมไมโครไพล์

          1. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ซม. (Diameter 18 cm.) มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 15-20 Ton/Pile ขุ้นอยู่กับสภาพดิน ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็มไมโครไพล์ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็มไมโครไพล์ โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็ม เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test 

 

ขนาดเสาเข็มกลมไมโครไพล์ 18 ซม.

 

ลักษณะโครงสร้างภายในของเสาเข็มไมโครไพล์

  • เหล็ก Dowel ขนาด 9 มม. จำนวน 4 เส้น
  • เหล็ก Spiral ขนาด 6 มม. พันรอบโครงเหล็กแกนหลัก ตั้งแต่ต้นเสาเข็มจนถึงปลายฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ
  • เหล็ก FB หนา 6 มม. กว้าง 2 นิ้ว เป็นเหล็กปลอกรัดหัวและท้ายเสาเข็ม สำหรับการเชื่อมต่อเสาเข็ม
  • ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 5-8 เซนติเมตร
  • ค่ากำลังอัดคอนกรีต ไม่น้อยกว่า 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ (สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้)


          2. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม.  (Diameter 20 cm.) มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 20-25 Ton/Pile ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็มไมโครไพล์ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็มไมโครไพล์ โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็ม เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test 

 

ขนาดเสาเข็มกลมไมโครไพล์ 20 ซม.

 

ลักษณะโครงสร้างภายในของเสาเข็มไมโครไพล์

  • เหล็ก Dowel ขนาด 9 มม. จำนวน 6 เส้น
  • เหล็ก Spiral ขนาด 6 มม. พันรอบโครงเหล็กแกนหลัก ตั้งแต่ต้นเสาเข็มจนถึงปลายฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ
  • เหล็ก FB หนา 6 มม. กว้าง 2 นิ้ว เป็นเหล็กปลอกรัดหัวและท้ายเสาเข็ม สำหรับการเชื่อมต่อเสาเข็ม
  • ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 5-8 เซนติเมตร
  • ค่ากำลังอัดคอนกรีต ไม่น้อยกว่า 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ (สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้)

          3. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 ซม.  (Diameter 25 cm.) มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 25-35 Ton/Pile ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็มไมโครไพล์ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็มไมโครไพล์ โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็ม เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test 

 

ขนาดเสาเข็มกลมไมโครไพล์ 25 ซม.

 

ลักษณะโครงสร้างภายในของเสาเข็มไมโครไพล์

  • เหล็ก Dowel ขนาด 9 มม. จำนวน 8 เส้น
  • เหล็ก Spiral ขนาด 6 มม. พันรอบโครงเหล็กแกนหลัก ตั้งแต่ต้นเสาเข็มจนถึงปลายฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ
  • เหล็ก FB หนา 6 มม. กว้าง 2 นิ้ว เป็นเหล็กปลอกรัดหัวและท้ายเสาเข็ม สำหรับการเชื่อมต่อเสาเข็ม
  • ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 7-10 เซนติเมตร
  • ค่ากำลังอัดคอนกรีต ไม่น้อยกว่า 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ (สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้)

          4. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ซม.  (Diameter 30 cm.) มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 35-50 Ton/Pile ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร โดยมีเหล็กปลอกรัดหัวท้าย เสาเข็มไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็มไมโครไพล์ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็มไมโครไพล์ โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็ม เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test 

 

ขนาดเสาเข็มกลมไมโครไพล์ 30 ซม.

 

ลักษณะโครงสร้างภายในของเสาเข็มไมโครไพล์

  • เหล็ก Dowel ขนาด 9 มม. จำนวน 10 เส้น
  • เหล็ก Spiral ขนาด 6 มม. พันรอบโครงเหล็กแกนหลัก ตั้งแต่ต้นเสาเข็มจนถึงปลายฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ
  • เหล็ก FB หนา 6 มม. กว้าง 2 นิ้ว เป็นเหล็กปลอกรัดหัวและท้ายเสาเข็ม สำหรับการเชื่อมต่อเสาเข็ม
  • ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 7-10 เซนติเมตร
  • ค่ากำลังอัดคอนกรีต ไม่น้อยกว่า 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ (สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้)

 

ขนาดเสาเข็มไอไมโครไพล์

          1. ขนาดหน้าตัด 18 ซม.  (I Shap 18 cm.) มีความสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย 15-20 Ton/Pile ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ความยาว/ท่อน 1.5 เมตร โดยมีเหล็ก Plate หัวท้าย เสาเข็มไอไมโครไพล์สามารถเพิ่มต่อความยาว (ความลึก) ของเสาเข็มไอไมโครไพล์ได้ โดยการเชื่อมต่อเสาเข็มไอไมโครไพล์ โดยวิธีการเชื่อมรอบเสาเข็ม เพื่อเพิ่มความลึกได้ตามต้องการ จนกระทั่งถึงชั้นดินดาน สามารถตรวจสอบกำลังการรับน้ำหนักปลอดภัย ด้วยวิธีการ Last 10 Blow Count หรือทดสอบด้วยวิธี Dynamic Load Test 

 

ขนาดเสาเข็มไอไมโครไพล์ 18 ซม.

 

ลักษณะโครงสร้างภายในของเสาเข็มไอไมโครไพล์

  • เหล็ก Dowel ขนาด 9 มม. จำนวน 4 เส้น
  • เหล็กปอกเดี่ยว ขนาด 4 มม. ผูกรอบโครงเหล็กแกนหลัก ตั้งแต่ต้นเสาเข็มจนถึงปลายฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ
  • เหล็ก Plate หนา 6 มม. เป็นเหล็ก Plate หัวและท้ายเสาเข็ม สำหรับการเชื่อมต่อเสาเข็ม
  • ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 5-7 เซนติเมตร
  • ค่ากำลังอัดคอนกรีต ไม่น้อยกว่า 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์ (สามารถสั่งผลิต Dowel ตามขนาดเหล็กที่ลูกค้าต้องการได้)

 

การตรวจสอบคุณภาพของการผลิต

          ทางเราตระหนักถึงคุณภาพและความปลอดภัยจึงมีการตรวจสอบโครงสร้างภายในของเสาเข็ม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบขนาดเหล็ก RB 9 mm. ,Spiral 6 mm. และเหล็ก FB หนา 6 mm. กว้าง 2 นิ้ว และรวมถึงรอยเชื่อมทุกจุดทุกตำแหน่งต้องมีความแข็งแรงและทนทาน การทดสอบ Slump การเก็บลูกปูนเพื่อส่งทดสอบค่ากำลังอัด รวมถึงการจัดกองเก็บในสต๊อกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

 

                                                                          การตรวจสอบขนาดเหล็ก RB 9 mm.   การตรวจสอบขนาดเหล็ก Spiral 6 mm.

                                                                          การทดสอบ Slump การเก็บลูกปูนเพื่อส่งทดสอบค่ากำลังอัด   การทดสอบ Slump การเก็บลูกปูนเพื่อส่งทดสอบค่ากำลังอัด

                                                                          การจัดกองเก็บในสต๊อกเสาเข็มไมโครไพล์   การจัดกองเก็บในสต๊อกเสาเข็มไมโครไพล์

 

วัสดุที่ใช้ในการผลิตเสาเข็ม

คอนกรีต (Concrete)

  • หินและทราย : ตรวจสอบ GRADTION ตามข้อกำหนดของมวลรวมผสม มอก. 397-2524
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ : ปูนทีพีไอดำ ตามข้อกำหนดของ ASTM DESIGNATION C150/C150M-12 TIS 15 Vol.1-2555 TYPE3
  • ค่ากำลังอัดคอนกรีต ไม่น้อยกว่า 350 Cylinder (ทรงกระบอก) 400 Cube ทรงลูกบาศก์
  • ค่ากำลังอัดคอนกรีตที่ถ่ายแรงเข้าเนื้อคอนกรีต (COMPRESSIVE STRENGTH OF CONCRETE ATTRANSFER) ของแท่งทรงกระบอกไม่ต่ำกว่า 250 กก./ซม2, ตามข้อกำหนด มอก.397-2524
  • ค่าการยุบตัวของเนื้อคอนกรีตเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.

 

วัสดุที่ใช้ในการผลิตเสาเข็ม

 

          ตระหนักถึงคุณภาพและความปลอดภัยจึงมีการตรวจสอบโครงสร้างภายในของเสาเข็มไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบขนาดเหล็กตามมาตรฐานของ มอก. เช่น เหล็กแฟรซบาร์หรือเหล็กปลอก

 

                                                                          วัสดุที่ใช้ในการผลิตเสาเข็ม   วัสดุที่ใช้ในการผลิตเสาเข็ม

 

ลวดเชื่อม

  • ลวดเชื่อมมาตรฐาน มอก. ขนาด 3.2 มม. มาตรฐาน มอก.

 

การตรวจสอบปั้นจั่น

          ปั้นจั่นทุกตัวผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากวิศวกรเครื่องกล ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากวิศวกรเครื่องกล และได้รับใบ จป.2 สามารถเข้าทำงานในระบบที่มี ระบบ SATFTY 100% ของบริษัทหรือโรงงานได้

 

การตรวจสอบปั้นจั่น

การตรวจสอบปั้นจั่น

 

ขั้นตอนและวิธีการทำงาน

          1. ย้ายปั้นจั่นให้เข้าที่ ให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลาง ให้ได้ระยะดิ่งตรงกลาง ระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ตามที่กำหนดไว้

 

ย้ายปั้นจั่นให้เข้าที่ ให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลาง

 

          2. นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้

 

นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้

 

          3. ตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำ เพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน X และแกน Y โดยจะทำการทดสอบกับตัวเสาเข็มสปันไมโครไพล์

 

ตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำ เพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน X และแกน Y

 

          4. ทดสอบกับตัวปั้นจั่น เพื่อให้แน่ใจว่าได้แนวดิ่งที่ถูกต้องตามที่ต้องการแล้ว และหลังจากนั้นจึงลงมือตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดแล้วจึงนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนที่ 2 มาจรดกับเสาเข็มท่อนแรกในแนวตรง แล้วจึงทดสอบด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง

 

ตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดแล้วจึงนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนที่ 2 มาจรดกับเสาเข็มท่อนแรกในแนวตรง

 

          5. หลังจากที่นำเสาท่อนที่ 2 วางจนได้แนวดิ่งที่ตรงกันกับเสาท่อนแรกแล้ว ใช้ cap pile เป็นตัวบังคับไม่ให้เสาท่อนที่ 2 เคลื่อนออกจากตำแหน่งแล้วจึงทำการลงมือเชื่อมต่อเหล็กที่ขอบของหัวเสาเข็มให้ติดกันโดยเสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน ลักษณะการเชื่อมจะเชื่อมเต็มรอบหัวเสาเข็มให้เสาทั้งสองท่อนต่อกันสนิทและเป็นเส้นแนวตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ความลึกตามความเป็นจริง หรือตามที่กำหนดไว้

 

นำเสาท่อนที่ 2 วางจนได้แนวดิ่งที่ตรงกันกับเสาท่อนแรกแล้ว ใช้ cap pile เป็นตัวบังคับไม่ให้เสาท่อนที่ 2 เคลื่อนออกจากตำแหน่งแล้วจึงทำการลงมือเชื่อมต่อเหล็กที่ขอบของหัวเสาเข็มให้ติดกัน

 

          6. การตอกเสาเข็มให้นึกถึงระดับการจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (blow count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่ายแสดงว่าความแน่นของดินที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนดในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้ว แม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังไม่จมมิดก็อาจแสดงว่าความหนาแน่นของดินที่จุดนั้นใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้น วิศวกรจจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้นๆ ด้วย

 

การตอกเสาเข็มให้นึกถึงระดับการจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่

 

รายละเอียดเสาเข็มที่ทำการทดสอบมีรายละเอียดตามข้อมูล ดังนี้

เสาเข็ม

หมายเลขที่

ชนิดและขนาด

เสาเข็ม (ม.)

พื้นที่เสาเข็ม

(ซม²)

น้ำหนักบรรทุก

ค่าน้ำหนักบรรทุก

ปลอดภัย (ตัน)

ค่าน้ำหนักบรรทุก

สูงสุด (ตัน)

Test pile No.P06

Spun Micro pile

0.30x(1.5x12) ม.

552.950.0125.0
Test pile No.P09

Spun Micro pile

0.25x(1.5x12) ม.

490.935.087.5


 

ผลการทดสอบ
ความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (Pile Integrity)

           เสาเข็มที่มีหน้าตัดและคุณสมบัติสม่ำเสมอตลอดความยาว คลื่นความเค้นตึงที่เคลื่อนที่ขึ้นเนื่องจากการสะท้อนที่ปลายเข็ม จะแสดงสัญญาณอย่างชัดเจนที่เวลาเท่ากับ 2L/C หลังจากการกระแทกของตุ้มน้ำหนัก หากพบคลื่นความดันดึงสะท้อนก่อนเวลา 2L/C แสดงถึงการเกิดการเปลี่ยนแปลงค่า impedance (ค่าคงที่เปลี่ยนแปลงเมื่อพื้นที่และคุณสมบัติของวัตถุเปลี่ยนไป) ในกรณีที่พิจารณาว่าคุณสมบัติของวัตถุคงที่ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หน้าตัด (β=Z₂/Z₁) โปรแกรม CAPWAP สามารถที่จะวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หน้าตัดหรือความต่อเนื่องได้สภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ขณะทำการทดสอบมีสภาพความสมบูรณ์ตามตารางรายงานผลข้างล่าง ดังนี้

 

เสาเข็ม

หมายเลขที่

ชนิดและขนาด

เสาเข็ม (ม.)

ความสมบูรณ์

เสาเข็ม

Test pile No.P06

Spun Micro pile

0.30x(1.5x12) ม.

เสาเข็มสมบูรณ์
Test pile No.P09

Spun Micro pile

0.25x(1.5x12) ม.

เสาเข็มสมบูรณ์

 


โรงงานการผลิต

มาตรฐานการผลิต และการทดสอบคุณภาพของเสาเข็ม

 

มาตรฐานการผลิต และการทดสอบคุณภาพของเสาเข็ม

  • สูตรผสมคอนกรีตตามมาตรฐานของ Concrete Mix Design
  • มาตรฐานการตวงชั่ง ซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และค่าความชื้นต่างๆ
  • มาตรฐานการทดสอบ Bendinf test
  • มาตรฐานการทดสอบ Compression test
  • มาตรฐานการทดสอบ Dynamic Load test
  • มาตรฐานการทดสอบ Calibration ของเครื่องมือต่างที่ใช้ในการวัด
  • มาตรฐาน ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  • มาตรฐานของวัตถุดิบต่างๆ

 

มาตรฐานการทดสอบเสาเข็ม

           ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกำลังรับน้ำหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม

 

                                                                          ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)   ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)

                                                                          ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)   ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)

                                                                          ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)   ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)

                                                                          ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)   ทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test)

 

การฝึกอบรมระบบ  SAFETY

          การฝึกอบรมเทคนิคการทำงาน การเชื่อม การบังคับปั้นจั่น ความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ เครื่องปั้นจั่นทุกตัวผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากวิศวกรเครื่องกล และได้รับใบ ปจ.2 ทีมงานช่างของเราสามารถเข้าทำงานในระบบที่มี SAFETY 100% ของโรงงานได้

เอกสารมาตรฐาน ทีมช่างและเครื่องจักร

  • มาตรฐาน การฝึกอบรมทีมช่าง
  • มาตรฐาน เครื่องจักร (ปั้นจั่น) ใบรับรอง ปจ.2
  • มาตรฐาน เครนรถบรรทุกขนส่ง ใบรับรอง ปจ.2
  • มาตรฐาน ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับงานเชื่อม พร้อมใบ Certificate
  • มาตรฐาน ผู้ให้สัญญาณ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุและผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น พร้อมใบ Certificate
  • มาตรฐาน ผู้ควบคุมเครนรถบรรทุกขนส่งพร้อมใบ Certificate

 

 

ตัวอย่างผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile 

ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในโรงงาน

ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในโรงงาน

ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในโรงงาน
 
 
 ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในโครงการหมู่บ้าน
 
ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในโครงการหมู่บ้าน
ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในโครงการหมู่บ้าน
 
 
ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในที่แคบ ในบ่อ
 
ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในที่แคบ ในบ่อ
 
 
 
ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในอาคารพาณิชย์
 
ผลงานการตอกเสาเข็ม Micro Pile ในอาคารพาณิชย์
 
 
 
รายละเอียดเสาเข็มไมโครไพล์
รายการเปรียบเทียบเสาเข็มไมโครไพล์
 

รายการ

เสาเข็มไอ

18x18 ซม.

เสาเข็มกลม 

18 ซม.

เสาเข็มกลม 

20 ซม.

เสาเข็มกลม 

25 ซม.

เสาเข็มกลม 

30 ซม.

การรับน้ำหนัก

15-20

ตัน/ต้น

15-20

ตัน/ต้น

20-25

ตัน/ต้น

25-35

ตัน/ต้น

30-50

ตัน/ต้น

ขนาดเหล็ก

Dowel Round Bar

B9 mm.

จำนวน 4 เส้น

B9 mm.

จำนวน 4 เส้น

B9 mm.

จำนวน 6 เส้น

B9 mm.

จำนวน 8 เส้น

B9 mm.

จำนวน 10 เส้น

เหล็ก Spiral

พันรอบ Dowel Round Bar

RB 4 mm.RB 6 mm.RB 6 mm.RB 6 mm.RB 6 mm.

ขนาดเหล็ก

เชื่อมต่อหัว

เหล็กเพลท

หนา 6 mm.

เหล็กแฟรซบาร์

50x6 mm.

เหล็กแฟรซบาร์

50x6 mm.

เหล็กแฟรซบาร์

50x6 mm.

เหล็กแฟรซบาร์

50x6 mm.

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้