แผ่นหลังคาและผนังเหล็ก LYSAGHT TRIMDEK®

361 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

แผ่นหลังคาและผนังเหล็ก LYSAGHT TRIMDEK®

          แผ่นหลังคาและผนัง LYSAGHT TRIMDEK® ของบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป ไลสาจท์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นแผ่นหลังคาโลหะคุณภาพระดับ “พรีเมี่ยม” ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเมืองไทย ด้วยความโดดเด่นในการออกแบบรูปลอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผสมผสานกับสไตล์อันทันสมัยได้อย่างลงตัว ทำให้ LYSAGHT TRIMDEK® คือ ทางเลือกที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด สำหรับอาคารในทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า อาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า ตลอดจนที่พักอาศัย

          แม้ว่ารูปลอน LYSAGHT TRIMDEK® จะยังคงเหมือนเดิม แต่ประสิทธิภาพได้เพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนาและปรับปรุง “LIMIT STATE” Design Tables ซึ่งได้ใช้ข้อมูลในการออกแบบและ Wind Load ได้อย่างแม่นยำและทันสมัย รวมทั้งได้ทำการทดสอบด้วยวิธี “Direct Pressure Testing Rig” ในห้องทดลองของศูนย์วิจัยระดับโลกของ NATA’S Labarotary Australia

 

รูปลอน หลังคา แผ่นหลังคา
รูปลอน

          ด้วยโครงสร้างของรูปลอนที่ถูกออกแบบให้มีความแข็งแกร่ง ทำให้ LYSAGHT TRIMDEK® พาดช่วงแปได้ไกล อันจะช่วยให้ลดจำนวนแปที่ใช้งานลง นั่นย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างก็ลดลงด้วยเช่นนกัน นอกจากนี้บริเวณ Side-lap ได้รับการออกแบบรูปลอนให้สามารถป้องกันน้ำไหลย้อน และความยาวที่ต่อเนื่องของตัวแผ่น ยังช่วยป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถดัดโค้งตามโครงสร้าง (Sprung Curve) ได้ทั้งแบบโค้งคว่ำและโค้งหงายได้อีกด้วย

 

ความยาวแผ่น หลังคา แผ่นหลังคา

 

ความยาวแผ่น

          แผ่นหลังคาและผนัง LYSAGHT TRIMDEK® สามารถผลิตให้มีความยาวตามขนาดที่ต้องการแต่ไม่ควรยาวเกิน 24 เมตร

ช่วงคลาดเคลื่อนของขนาดแผ่น

          ความยาว ± 15 มม. ความกว้าง ± 4 มม. ความหนา ± 0.05 มม.

ลักษณะการจัดส่ง

          แผ่นจะถูกวางซ้อนทับและมัดรวมกันเป็นมัดโดยมีน้ำหนักมัดละไม่เกิน 1 ตัน พร้อมทั้งดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ ด้วยการใช้พลาสติกห่อหุ้มแผ่นหลังคาแลละแผ่นปิดครอบทุกรุ่นทุกประเภท

มุมลาดเอียงของหลังคา

          โดยทั่วไปมุมลาดเอียงต่ำสุดของหลังคา LYSAGHT TRIMDEK® ที่แนะนำคือ 5 องศา หรือประมาณ 1 ต่อ 12

 

มุมลาดเอียงของหลังคา หลังคา แผ่นหลังคา

มุมลาดเอียงของหลังคา หลังคา แผ่นหลังคา

 

ข้อมูลจำเพาะของวัสดุ

          แผ่นหลังคารุ่น LYSAGHT TRIMDEK® ผลิตจากเนื้อเหล็ก G550 (มีค่า Yield Strength ไม่ต่ำกว่า 550 MPa) ซึ่งมีความหนาของแผ่นเหล็กไม่รวมชั้นเคลือบ (BMT) และความหนารวมชั้นเคลือบ ZINCALUME® (TCT) ตามรายละเอียดที่แสดงไว้ในรายละเอียดวัสดุ อย่างไรก็ตามหากต้องการความหนาอื่นๆ โปรดติดต่อกลับมายังบริษัทฯ

          สำหรับแผ่นหลังคา LYSAGHT TRIMDEK® แบบ ZINCALUME® ถูกผลิตขึ้นตามมาตรฐานออสเตรเลีย AS1397- G550-AZ150 โดยมีปริมาณการเคลือบไม่น้อยกว่า 150 กรัม/ตร.ม และแบบ Clean COLORBOND® เป็นไปตามมาตรฐานออสเตรเลีย AS2728 “Pre-painted and Organic Film/Metal Laminate Products”

 

แผ่นหลังคารุ่น LYSAGHT TRIMDEK® หลังคา แผ่นหลังคา

 

รายละเอียดวัสดุ


ZINCALUME®Clean COLORBOND®
ความหนาแผ่นเหล็กไม่รวมชั้นเคลือบ (BMT)0.35 mm.0.42 mm.0.48 mm.0.35 mm. 0.42 mm.0.48 mm.
ความหนาแผ่นเหล็กรวมชั้นเคลือบ (TCT)0.40 mm.0.47 mm.0.53 mm.0.436 mm. 0.505 mm.0.565 mm.

ZINCALUME® Clean COLORBOND®
น้ำหนักแผ่น/พื้นที่ (กก./ตร.ม.)3.614.294.873.68 4.364.95
น้ำหนักแผ่น/ความยาว (กก./ม.)2.743.263.702.8 3.313.76
พื้นที่ปิดคลุม (ตร.ม./ตัน)277233206272 229 202

 

ระยะพาดแปและการระบายน้ำฝน
ระยะห่างสูงสุดระหว่างจุดรองรับ

          ตารางที่ 1 ระยะห่างสูงสุดที่ยอมให้ระหว่างจุดรองรับนี้ทดสอบตามมาตรฐานออสเตรเลีย AS 1562-1992 และ AS 4040.1-1992 โดยระยะห่างของจุดรองรับสำหรับหลังคาที่แนะนำนี้เพียงพอต่อการรับแรงจากการเดินบนหลังคา รวมถึงน้ำหนักของการขึ้นไปซ่อมบำรุงหลังคา

          ระยะห่างของจุดรองรับสำหรับผนัง เป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้ คือ ความสูงของอาคารไม่เกิน 10 เมตร ในพื้นที่ที่ไม่มีพายยุไซโคลนตามมาตรฐานออสเตรเลีย AS 1170.2-1989

 

ตาราง 1 ระยะห่างสุดที่ยอมให้ของช่วงแป (มม.)

ลักษณะช่วงแปMax. Allowable Support Spacings (mm.)
  Base Metal Thickness (BMT)0.350.420.48
  ความหนารวมชั้นเคลือบ ZINCALUME®0.400.470.53
  ความหนารวมชั้นเคลือบสี Clean COLORBOND®0.4350.5050.565
          For Roof (หลังคา) : กรณีแผ่นตรง
  ช่วงแปเดี่ยว (Single Span)100011001500
  ช่วงแปปลาย (End Span)110013001700
  ช่วงแปกลาง (Internal Span)150019002300
  ช่วงยื่นล้ำ (Unstiffened Overhang)150150200
          For Sqrung Roof (หลังคา) : กรณีดัดโค้งธรรมชาติ
  ช่วงแปเดี่ยว (Single Span)100011001500
  ช่วงแปปลาย (End Span)110013001500
  ช่วงแปกลาง (Internal Span)150015001500
          For Wall (ผนัง)
  ช่วงแปเดี่ยว (Single Span)120020002200
  ช่วงแปปลาย (End Span)120020002200
  ช่วงแปกลาง (Internal Span)180025002800
  ช่วงยื่นล้ำ (Unstiffened Overhang)150150200

 

          ตารางที่ 2 แสดงถึงความสามารถของหลังคาในการรับแรงลมที่ระยะพาดแปต่างๆ (ในลักษณะ Uplift) ณ จุดที่หลังคาไม่เสียรูปทรง (Serviceability) และที่หลังคาถึงจุดวิบัติ (Strength Limit State)

          โดย Serviceability Limit State เป็นค่าแรงดันลมที่สถานะใช้งาน โดยทำการทดสอบจนถึงจุดที่ค่าการโก่งตัวของแผ่นไม่เกิน (Span/120+P/30) โดยที่ P คือระยะห่างสูงสุดของสกรูที่ทำการยึดแผ่น    

          และค่า Strength Limit State ได้จากการทดสอบแผ่นจนถึงจุดวิบัติ ผลการทดสอบตามตาราง เป็นการทดสอบที่ความหนาของแปไม่น้อยกว่า 1 มม. เนื่องจากความหนาของแปมีผลต่อการจับยึดสกรู

 

ตารางที่ 2 ค่าแรงดันลมสูงสุดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้บนแผ่น (kPa)

Base Metal
Thickness (mm.)
ลักษณะช่วงแปLimit Stateระยะแป (มม.)
6009001200150018002100240027003000
(BMT) 0.35ช่วงแปเดี่ยวServiceabilit-2.151.601.200.800.550.400.350.30
Strength-7.205.904.303.502.902.450.202.00
ช่วงแปปลายServiceabilit-2.902.101.601.200.900.65--
Strength-4.503.102.201.801.601.50--
ช่วงแปกลางServiceabilit-2.852.452.201.751.501.00--
Strength-5.904.753.953.403.103.00--
(BMT) 0.42ช่วงแปเดี่ยวServiceabilit4.983.912.831.871.160.750.53--
Strength10.258.356.454.753.603.002.75--
ช่วงแปปลายServiceabilit4.183.633.082.552.061.621.220.850.50
Strength6.355.855.304.804.303.803.252.752.25
ช่วงแปกลางServiceabilit5.054.183.422.832.361.941.561.230.97
Strength9.507.956.555.254.303.653.303.052.85
(BMT) 0.55ช่วงแปเดี่ยวServiceabilit7.275.063.342.061.150.710.500.42-
Strength12.0011.609.607.756.104.753.602.65-
ช่วงแปปลายServiceabilit6.295.133.962.932.131.541.120.820.58
Strength9.408.006.555.304.353.653.252.952.75
ช่วงแปกลางServiceabilit7.375.964.663.542.722.221.921.641.38
Strength9.908.557.356.255.404.754.303.853.45

 

           เพื่อความปลอดภัยในการออกแบบกำลังของวัสดุควรเผื่อค่าความปลอดภัย โดยใช้ Safety Factor = 0.9

          ผลการทดสอบการรับแรงลมแบบ Direct pressure test rig มีความแม่นยำสูง เนื่องจากได้จำลองการเกิดแรงลมในสภาวะจริงตามธรรมชาติ ส่วนการทดสอบด้วยวิธีถุงลมแบบเดิมจะมีการกระจายลมไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผลการทดสอบนั้นไม่แม่นยำพอ

          เพราะฉะนั้นจึงสามารถมั่นใจได้กับรูปลอน LYSAGHT TRIMDEK® ที่ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพด้านต่างๆ มาแล้วเป็นอย่างดี เนื่องจากผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ LYSAGHT® เป็นผู้นำในตลาดวัสดุก่อสร้างมานานกว่า 20 ปี และเรามีความพิถีพิถันในการวิจัยและพัฒนาวัสสดุอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลและค่าต่างงๆ ได้จากการทดสอบแบบครบวงจรในห้องทดลองของศูนย์วิจัยระดับโลกของ NATA Laboratory Australia

 แรงดันลมสูงสุดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้บนแผ่น (kPa) หลังคา แผ่นหลังคา
แรงดันลมสูงสุดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้บนแผ่น (kPa)หลังคา แผ่นหลังคา

การระบายน้ำฝน

          ความสามารถในการระบายน้ำฝนของแผ่นหลังคาเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จำกัดความยาวของแผ่นหลังคาที่จจะนำมาใช้งานในประเทศไทย สถาปนิกส่วนใหญ่จะออกแบบหลังคาที่สามารถระบายน้ำฝนได้ไม่น้อยกว่า 150-250 มม./ชั่วมง ซึ่งแผ่นหลังคารุ่น LYSAGHT TRIMDEK® สามารถระบายน้ำฝนในปริมาณดังกล่าวได้อย่างดีเยี่ยม แม้มุมลาดเอียงของหลังคาต่ำ ดังแสดงในตารางที่ 3 

 ความสามารถในการระบายน้ำฝนของแผ่นหลังคา หลังคา

ตารางที่ 3 ความยาวสูงสุดของแผ่นหลังคา (เมตร) : L

ปริมาณน้ำฝน  (mm/hr)มุมลาดเอียงของหลังคา
1 in 12 (5°)1 in 7.5 (7.5°)1 in 6 (10°)
200123139152
25098111121
3008292101
400616976

 

การติดตั้งแผ่นหลังคา (Roofing Installation)

 

ขั้นตอนที่ 1 ติดตั้งแผ่นหลังคาแผ่นแรก โดยให้ลอนตัวเมียอยู่ติดหน้าจั่ว

 ขั้นตอนที่ 1 ติดตั้งแผ่นหลังคาแผ่นแรก โดยให้ลอนตัวเมียอยู่ติดหน้าจั่ว

 

 ขั้นตอนที่ 2 เช็คปลายแผ่นของหลังคาให้ยื่นล้ำไปในแนวรางน้ำอย่างเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 เช็คปลายแผ่นของหลังคาให้ยื่นล้ำไปในแนวรางน้ำอย่างเหมาะสม

 

ขั้นตอนที่ 3 ยึดสกรูทุกๆ สันลอนบริเวณแปปลายและแปเดี่ยว ส่วนแกลางให้ยึดลอนเว้นลอนขั้นตอนที่ 3 ยึดสกรูทุกๆ สันลอนบริเวณแปปลายและแปเดี่ยว ส่วนแกลางให้ยึดลอนเว้นลอน

 ขั้นตอนที่ 4 นำแผ่นหลังคาแผ่นที่สองขึ้นบนโครงสร้างหลังคาขั้นตอนที่ 4 นำแผ่นหลังคาแผ่นที่สองขึ้นบนโครงสร้างหลังคา

 

ขั้นตอนที่ 5 วางแผ่นหลังคาให้ลอนตัวเมียซ้อนทับลอนตัวผู้ของแผ่นแรก

ขั้นตอนที่ 5 วางแผ่นหลังคาให้ลอนตัวเมียซ้อนทับลอนตัวผู้ของแผ่นแรก

 

 ขั้นตอนที่ 6 ใช้คีมหนีบบริเวณซ้อนทับแผ่น เพื่อความแนบแน่นในการยึดสกรูทั้งหัวและท้ายแผ่น

ขั้นตอนที่ 6 ใช้คีมหนีบบริเวณซ้อนทับแผ่น เพื่อความแนบแน่นในการยึดสกรูทั้งหัวและท้ายแผ่น

 

ขั้นตอนที่ 7 ทำการยึดสกรูบริเวณซ้อนทับทุกๆ สันลอน (สกรูสำหรับบริเวณซ้อนทับ

ขั้นตอนที่ 7 ทำการยึดสกรูบริเวณซ้อนทับทุกๆ สันลอน (สกรูสำหรับบริเวณซ้อนทับ

 

ขั้นตอนที่ 8A-8B หลังจากติดตั้งแผ่นหลังคา ไปประมาณ 10 แผ่น ควรเช็คแนวของแผ่นด้วยว่าเท่ากันหรือไม่

ขั้นตอนที่ 8A-8B หลังจากติดตั้งแผ่นหลังคา ไปประมาณ 10 แผ่น ควรเช็คแนวของแผ่นด้วยว่าเท่ากันหรือไม่

ขั้นตอนที่ 8A-8B หลังจากติดตั้งแผ่นหลังคา ไปประมาณ 10 แผ่น ควรเช็คแนวของแผ่นด้วยว่าเท่ากันหรือไม่

 

การติดตั้งผนัง (Walling Installation)

 

ขั้นตอนที่ 1 สำหรับวิธีการรติดตั้งผนัง จะเหมือนกับหลังคาและควรเช็คตำแหน่งการยึดสกรูด้วย

ขั้นตอนที่ 1 สำหรับวิธีการรติดตั้งผนัง จะเหมือนกับหลังคาและควรเช็คตำแหน่งการยึดสกรูด้วย

 

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อติดตั้งแผ่นผนังแผ่นแรกเรียบร้อยแล้ว นำแผ่นที่ 2 วางซ้อนทับโดยใช้คีมหนีบหัวและท้าย พร้อมกับยึดสกรูบริเวณแปปลาย, แปเดี่ยวทุกๆ ท้องลอนและแปกลางยึดลอนเว้นลอน

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อติดตั้งแผ่นผนังแผ่นแรกเรียบร้อยแล้ว นำแผ่นที่ 2 วางซ้อนทับโดยใช้คีมหนีบหัวและท้าย พร้อมกับยึดสกรูบริเวณแปปลาย, แปเดี่ยวทุกๆ ท้องลอนและแปกลางยึดลอนเว้นลอน

 

ขั้นตอนที่ 3 นำแผ่นต่อไปมาวางซ้อนทับและทำการติดตั้งเหมือนขั้นตอนที่ 2 และใช้สกรูสำหรับบริเวณทับ

ขั้นตอนที่ 3 นำแผ่นต่อไปมาวางซ้อนทับและทำการติดตั้งเหมือนขั้นตอนที่ 2 และใช้สกรูสำหรับบริเวณทับ

 

การติดตั้งแผ่นปิดครอบข้าง (barge Capping Installation)

 ขั้นตอนที่ 1 นำแผ่นปิดครอบข้างมาวาง โดยเริ่มติดตั้งจากปลายแผ่นและทำการยึดสกรูทุกระยะ 50 ซม.

ขั้นตอนที่ 1 นำแผ่นปิดครอบข้างมาวาง โดยเริ่มติดตั้งจากปลายแผ่นและทำการยึดสกรูทุกระยะ 50 ซม.

 ขั้นตอนที่ 2 ทำการยึดสกรูบนแผ่นปิดครอบมุมกับแปทุกระยะ 50 ซม. เท่ากัน
 
ขั้นตอนที่ 2 ทำการยึดสกรูบนแผ่นปิดครอบมุมกับแปทุกระยะ 50 ซม. เท่ากัน
 
 

ขั้นตอนที่ 3 นำแผ่นที่ 2 มาวางซ้อนทับกับแผ่นแรกโดยให้เหลื่อมกับแผ่นแรกเข้ามาอย่างต่ำ 10 ซม.  

 ขั้นตอนที่ 3 นำแผ่นที่ 2 มาวางซ้อนทับกับแผ่นแรกโดยให้เหลื่อมกับแผ่นแรกเข้ามาอย่างต่ำ 10 ซม.
 
 
ขั้นตอนที่ 4 ทำการยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ
 
ขั้นตอนที่ 4 ทำการยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ
 

ขั้นตอนที่ 5 ยึดสกรูบริเวณแผ่นปิดครอบที่ทำมุมกัน
 
ขั้นตอนที่ 5 ยึดสกรูบริเวณแผ่นปิดครอบที่ทำมุมกัน
 
 
 การติดตั้งแผ่นครอบจั่ว (Ridge Capping Installation)
 
 
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนทำการติดตั้งครอบสันหลังคาให้ใช้อุปกรณ์พับขึ้น พับปลายแผ่นหลังคาทั้งสองข้าง และติดตั้ง Filler Strip (เพื่อกันน้ำย้อน) ที่ปลายแผ่นด้านบน 
 
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนทำการติดตั้งครอบสันหลังคาให้ใช้อุปกรณ์พับขึ้น พับปลายแผ่นหลังคาทั้งสองข้าง และติดตั้ง Filler Strip (เพื่อกันน้ำย้อน) ที่ปลายแผ่นด้านบน 
 
 
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มติดตั้งแผ่นปิดครอบจั่วแผ่นแรกโดยวางตำแหน่งให้ได้แนวระดับ  
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มติดตั้งแผ่นปิดครอบจั่วแผ่นแรกโดยวางตำแหน่งให้ได้แนวระดับ 
 
 
ขั้นตอนที่ 3 ใช้เครื่องมือตัดปลายด้านข้างแผ่นปิดครอบให้ได้รูปรอยตัดตามสันลอนของหลังคาเพื่อจะได้วางแผ่นปิดครอบทับกับหลังคาพอดี
 
ขั้นตอนที่ 3 ใช้เครื่องมือตัดปลายด้านข้างแผ่นปิดครอบให้ได้รูปรอยตัดตามสันลอนของหลังคาเพื่อจะได้วางแผ่นปิดครอบทับกับหลังคาพอดี
 
 
ขั้นตอนที่ 4 หรือการใช้กรรไกรตัดเหล็กบากแผ่นให้ได้รูปรอยตัดตามสันลอน
 
ขั้นตอนที่ 4 หรือการใช้กรรไกรตัดเหล็กบากแผ่นให้ได้รูปรอยตัดตามสันลอน
 
 
ขั้นตอนที่ 5 ทำการยึดสกรูบริเวณสันลอนเว้นสันลอน
 
ขั้นตอนที่ 5 ทำการยึดสกรูบริเวณสันลอนเว้นสันลอน
 
 
ขั้นตอนที่ 6 ตัดเศษวัสดุที่ยื่นล้ำออกมาให้สวยงาม  
 
 ขั้นตอนที่ 6 ตัดเศษวัสดุที่ยื่นล้ำออกมาให้สวยงาม
 
 
ข้อแนะนำบริเวณรอยต่อ (Recommendation the end lap)
 
 
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนซีลซิลิโคน ให้ทำความสะอาดบริเวณที่จะซีลให้สะอาดเสียก่อน 
ขั้นตอนที่ 1 ก่อนซีลซิลิโคน ให้ทำความสะอาดบริเวณที่จะซีลให้สะอาดเสียก่อน 
 
 
ขั้นตอนที่ 2 ซีลซิลิโคนตามแนวซ้อนทับทั่วทั้งแผ่นล่างและแผ่นบน 
ขั้นตอนที่ 2 ซีลซิลิโคนตามแนวซ้อนทับทั่วทั้งแผ่นล่างและแผ่นบน 
 
 
ขั้นตอนที่ 3 ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ 
ขั้นตอนที่ 3 ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ
 
 
อุปกรณ์ (Accessories)
 
 
Crimp Curved Sheeting หลังคา แผ่นหลังคา
 
          1. Crimp Curved Sheeting คือ แผ่นหลังคาดัดโค้งโดยการนำแผ่นผ่านเข้าเครื่องดัดโค้ง ซึ่งเรียกว่า Crimp Curved โดยรัศมีความโค้งต่ำสุดที่เครื่องดัดได้คือ 450 มม.
 
 
Sprung Curved Sheeting หลังคา แผ่นหลังคา
 
Sprung Curved Sheeting หลังคา แผ่นหลังคา
 
          2. Sprung Curved Sheeting คือ แผ่นหลังคาดัดโค้งโดยการนำแผ่นตรงมาดัดโค้งตามโครงสร้าง โดยไม่ต้องเข้าเครื่องดัดโค้ง ซึ่งเรียกว่า Sprung Curved โดยรัศมีความโค้งต่ำสุดที่จะดัดธรรมชาติได้คือ 60,000 มม.
 
แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Lysaght Flashings)
 
แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Lysaght Flashings) หลังคา แผ่นหลังคา     แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Lysaght Flashings) หลังคา แผ่นหลังคา     แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Lysaght Flashings) หลังคา แผ่นหลังคา
แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Lysaght Flashings) หลังคา แผ่นหลังคา     แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Lysaght Flashings) หลังคา แผ่นหลังคา     แผ่นปิดครอบมาตรฐาน (Lysaght Flashings) หลังคา แผ่นหลังคา
 
 
อุปกรณ์ยึดแผ่น (Lysaght Fasteners) 
 
 สกรู
 
           สกรู ผลิตรตามมาตรฐานออสเตรเลีย AS3566 Class 3 or above มีหลายสี หลายขนาดเพื่อความเหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท
 
 ความเหมาะสมของสกรูกับลักษณะงานแต่ละประเภท
 
ชั้นเคลือบเหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® Steel
 
 
ชั้นเคลือบเหล็กเคลือบสี Clean COLORBOND® Steel
 
ชั้นที่ 1. สี Polyester เคลือบผิวด้านหน้า

ชั้นที่ 2. เคลือบสีรองพื้น Polyester เพื่อป้องกันการกัดกร่อน

ชั้นที่ 3. ผิวประสานชั้นเคลือบโลหะและสี เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการยึดเกาะ และป้องกันการกัดกร่อน

ชั้นที่ 4. ZINCALUME® steel substrate

ชั้นที่ 5. ผิวประสานชั้นเคลือบโลหะและสี เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการยึดเกาะ และป้องกันการกัดกร่อน

ชั้นที่ 6. เคลือบสีรองพื้น Polyester เพื่อป้องกันการกัดกร่อน

ชั้นที่ 7. สีเคลือบด้านหลัง
 
 
ประเภทของแผ่นหลังคาและผนังเหล็กเคลือบสี
 
          แผ่นหลังคาและผนังเหล็กเคลือบ Clean COLORBOND® ทุกรุ่นผ่านการเคลือบสีโดยตรงจากโรงงานและกรรมวิธีในการเคลือบสี เป็นไปตามมาตรฐานออสเตรเลีย AS2728 (Pre-painted organic film/metal Iaminate products) โดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1. Clean COLORBOND® XRW สำหรับหลังคาและผนังภายนอกของอาคาร
 
  • ชั้นเคลือบด้านบน ประกอบด้วยสีรองพื้นหนา 5 ไมครอน เคลือบทับด้วยโพลีเอสเตอร์หนา 20 ไมครอน

  • ชั้นเคลือบด้านล่าง ประกอบด้วยสีโพลีเอสเตอร์ Shadow Grey หนา 10 ไมครอน


2. Clean COLORBOND® XPD สำหรับอาคารที่ต้องการสีซึ่งทนทานเป็นพิเศษ

  • ชั้นเคลือบด้านบน ประกอบประกอบด้วยสีรองพื้นหนา 5 ไมครอน เคลือบทับด้วยสี PVDF (PVF2) หนา 20 ไมครอน

  • ชั้นเคลือบด้านล่าง ประกอบด้วยสีโพลีเอสเตอร์ Snowgum Green หนา 10 ไมครอน


3. Clean COLORBOND® Ultra สำหรับอาคารในบริเวณที่มีการกัดกร่อนสูง

  • ชั้นเคลือบด้านบน ประกอบด้วยสีรองพื้นหนา 5 ไมครอน เคลือบทับด้วยสีโพลีเอสเตอร์ หนา 20 ไมครอน

  • ชั้นเคลือบด้านล่าง ประกอบด้วยสีโพลีเอสเตอร์สี Bass Grey หนา 15 ไมครอน


หมายเหตุ : สีเคลือบ Clean COLORBOND® Ultra มีชั้นเคลือบ ZINCALUME® AZ200 (triple spot 200 g/m2 Coating mass) สีเคลือบของแผ่นหลังคาและผนังเหล็ก Clean COLORBOND® XPD ใช้ระบบสีแบบ PVF2 (Polyvinylidene Fluoride) ตามคุณสมบัติของ KYNAR 500 ที่มีส่วนผสสมของเรซิน PVDF (PVF2) ไม่ต่ำกว่า 70% ของเนื้อสี

ข้อควรรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผ่นหลังคาและผนังเหล็กทุกรุ่น
วัสดุที่เข้ากันได้

          ควรใช้แปที่ทำจากเหล็ก SuperDyma® หรือทาสีป้องกันสนิม

วัสดุที่เข้ากันไม่ได้

          วัสดุที่ห้ามนำมาใช้ร่วมกับแผ่นเหล็กเคลือบ ZINCALUME® ได้แก่ ตะกั่ว, ทองแดง, Stainless Steel, monel metal, wet and dry concrete, soils and vegetable matter เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับสารเคลือบ ZINCALUME® เป็นผลให้เกิดการผุกร่อนและเป็นสนิมบนตัวแผ่น

การต่อแผ่น

          เนื่องจากไม่สามารถต่อแผ่นโดยการเชื่อม ดังนั้นถ้าต้องการต่อแผ่นให้ใช้สกรูหรือหมุดย้ำยึดรอยต่อ และซีลรอยต่อโดยรอบด้วยกาวซิลิโคน

 
การดูแลและจัดเก็บ หลังคา แผ่นหลังคา
 
 
การดูแลและจัดเก็บ
 
          เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวของแผ่นหลังคาเกิดความเสียหาย ดังนั้นการเคลือนย้ายแผ่นควรสวมถุงมือที่แห้ง สะอาด และอย่าลากแผ่นไปบนพื้นผิวที่ขรุขระหรือลากไปบนแผ่นด้วยกันเอง โดยแผ่นหลังคาเหล็กจากไลสาจท์จะถูกนำส่งเป็นมัดควรจัดวางบนยกพื้นและอยู่ในที่แห้ง แต่ถ้าวางอยู่กลางแจ้งจะต้องจัดหาวัสดุปิดคลุมเพื่อป้องกันน้ำฝน และความเปียกชื้นที่อาจเกิดแทรกอยู่รระหว่างแผ่น ถ้าแผ่นหลังคาเปียยกชื้นให้รีบแยกแผ่นออกจากมัดนำไปเช็คด้วยผ้าแห้ง แล้วจึงนนำไปผึ่งลมให้แห้ง วิธีการเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวเคลือบเสียหาย คงความสวยงามตลอดอายุการใช้งาน ทั้งที่ไม่ควรให้สัมผัสกับวัสดุที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน

การตัดแผ่น
 
          การตัดแผ่นทุกครั้งควรกระทำบนพื้น ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรตัดบนหลังคา ควรใช้กรรไกรตัดแผ่นในการตัดแผ่นทุกครั้ง หากต้องใช้เลื่อยไฟฟ้าควรคว่ำแผ่นลงบนพื้นผิวที่อ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวเคลือบเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากเศษโลหะร้อนๆ ที่เกิดขึ้นขณะตัดแผ่นและควรใช้เลื่อยไฟฟ้าซึ่งมีใบตัดเป็นโลหะ เพราะจะให้เกิดเศษโลหะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังได้รอยตัดที่ไม่เสียหายอีกด้วย

การทำความสะอาด  
 
          หลังเสร็จงานติดตั้งในทุกๆ วัน ควรกวาดเศษโลหะ, คอนกรีต และเศษวัสดุต่างๆ ที่เกิดจากการตัด เจาะจากการทำงานอื่นๆ ออกไปจากบริเวณหลังคาโดยทันที

การบำรุงรักษา
 
          การล้างคราบฝุ่นบนหลังคา ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและน้ำยาทำความสะอาดชนิดอ่อน
 
 
แผ่นหลังคาและผนังเหล็ก LYSAGHT TRIMDEK®
 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง 


 
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้