ตู้สวิทซ์บอร์ด ตู้ MDB ตู้ MCC ตู้ CAP BANK เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

5346 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตู้สวิทซ์บอร์ด ตู้ MDB ตู้ MCC ตู้ CAP BANK เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

          ตู้สวิทซ์บอร์ด คือตู้ที่เป็นจุดศูนย์รวมของการควบคุมไฟฟ้า โดยเป็นแผงรวมวงจร เพื่อควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเป็นอย่างมากอย่างหนึ่งในตัวคอนโทรลไฟฟ้าทั้งระบบหรือเครื่องจักรต่างๆ มีหน้าที่ควบคุมไฟฟ้าเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ยังส่วนต่างๆ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ นอกจากนี้  ตู้สวิทซ์บอร์ดยังคอนโทรลไฟฟ้าไม่ให้เกิดอันตราย ผู้ใช้งานภายในอาคารจะปลอดภัยเมื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อีกด้วย

     ตู้ MDB เป็นหนึ่งในหัวใจการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้เพราะว่าถ้าหากขาด  ตู้ MDB ไปก็จะทำให้ทั้งโรงงานอุตสาหกรรมนั้นไม่สามารถใช้ไฟได้อย่างแน่นอน เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร มีแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยทั่วไปนิยมใช้ในอาคารที่มีขนาดกลาง และอาคารขนาดใหญ่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟในปริมาณมาก เนื่องจากว่า ตู้ MDB นั้นค่อนข้างจะมีการทำงานที่ซับซ้อน และ มีความร้อนที่สูง ดังนั้นควรที่จะเช็คสภาพการใช้งาน และเช็คตู้ MDB อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดและทำให้เกิดอันตรายขึ้น เกิดความเสียหายต่อโรงงานอุตสาหกรรมนั้นได้

     ตู้ MCC หรือ ตู้ควบคุมมอเตอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมมอเตอร์หลายๆ หน่วยควบคุมมอเตอร์ (Motor Control Units) เข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าด้านเข้าร่วมกัน และส่วนด้านจ่ายไฟฟ้าออกก็จะต่อไปจ่ายมอเตอร์ของแต่ละตัว เป็นตู้เเบบตั้งพื้นที่ประกอบไปด้วยตู้เเนวตั้งเเละเป็นที่รวมของชุดควบคุมมอเตอร์ โดยชุดควบคุมมอเตอร์จะติดตั้งเหนือชุดควบคุมมอเตอร์อื่นๆ ในเเนวตั้งเเละชุดควบคุมมอเตอร์เหล่านี้จะมีบัสในเเนวตั้งที่ต่อเข้ากับบัสกำลังในเเนวนอน เป็นตู้ควบคุมการทำงานของระบบมอเตอร์ ซึ่งภายในตู้ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า มักติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีมอเตอร์ควบคุมสายการผลิตแบบต่อเนื่องเป็นปริมาณมาก โดยจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร โดยภายในตู้จะประกอบด้วยชุดทำงานที่สั่งการไปให้มอเตอร์แต่ละตัวทำงาน

     ตู้ CAP BANK หรือ คาปาซิเตอร์ แบ็งค์ (Capacitor Bank) คือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) ขนาดใหญ่จำนวนหลายๆ ชุดที่ใส่ขนานเข้ามาในระบบไฟฟ้าเพื่อทำหน้าที่ปรับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power Factor หรือ PF.) ของระบบให้มีค่าสูงขึ้นเพื่อจะได้ลดกำลังงานสูญเสียในระบบ ส่วนประกอบภายใน Capacitor Bank จะประกอบไปด้วย



1. อุปกรณ์ควบคุมค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power Factor Controller)

2. ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor)

3. อุปกรณ์ตัดต่อตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Magnetic Contractor)

มีประโยชน์สำคัญคือลดค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียในสายไฟ ในขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า  ลดค่าแรงดันตกในสายไฟและในขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า ทำให้แรงดันไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอดีขึ้น ลดค่าไฟฟ้ารายเดือนเนื่องจากค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียในระบบไฟฟ้าลดลงเพิ่มความสามารถในการรับโหลดของหม้อแปลงและสายไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผ่านหม้อแปลงและสายไฟฟ้าลดลง ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ข้อดีของตู้สวิทซ์บอร์ด

     - ทำให้สามารถวางแผนจัดการระบบไฟฟ้าภายในอาคารได้สะดวก

     - สามารถตัดไฟฟ้าที่ตู้คอนโทรลระบบไฟฟ้าเพื่อทำการซ่อมบำรุงดูแลรักษาจุดจ่ายไฟฟ้าเป็นจุดๆได้

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ตู้ MDB ตู้สวิทซ์บอร์ด

ตู้ MCC ตู้ควบคุม

Cap Bank

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตู้สวิทซ์บอร์ด ตู้ MDB ตู้ MCC ตู้ CAP BANK เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

MDB Mian Distribtion Board ของจำเป็นของระบบไฟฟ้า

MCC Motor Control Center ของจำเป็นในการควบคุมเครื่องจักร

Cap Bank (Capacitor Bank) ของดีมีไว้เพื่อประหยัดไฟ

ตู้คอนโทรล PLC ตู้ควบคุมระบบพีแอลซี (PLC Control Panel) คืออะไร

ขนาดตู้คอนโทรล ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้ไฟมาตรฐาน

ขนาดตู้คอนโทรล ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้ไฟกันน้ำ

ขนาด ตู้คอนโทรล ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้ไฟสแตนเลส

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้